การเข้ารับการรักษา

คนที่ฉันรักสูญเสียการได้ยิน ฉันควรทำอย่างไรดี?

การให้การดูแลผู้ที่สูญเสียการได้ยินไม่ใช่เรื่องง่าย อาจมีบางครั้งที่สร้างความหงุดหงิดหรือต้องเก็บความรู้สึกไว้มากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มที่สูญเสียการได้ยินจากความชราในผู้สูงอายุ มีรายงานมากมายที่แสดงการเพิ่มขึ้นของสมาชิกในครอบครัวที่ต้องพูดประโยคเดิมซ้ำหลายครั้ง การต้องชมโทรทัศน์ วิทยุด้วยเสียงที่ดังมากๆ และ ต้องช่วยแปลความหมายของคำพูดจากโทรศัพท์และในบริเวณที่มีเสียงดังจอแจ เพื่อให้คนที่ท่านรักสามารถสื่อสารได้ ในในบางครั้งอาจสร้างความหงุดหงิดมากขึ้นหากผู้ที่สูญเสียการได้ยินปฏิเสธความช่วยเหลือจากท่านหรือให้ท่านเลิกกังวลเกี่ยวกับการได้ยินของเขา

และนี่คือวิธีการที่จะช่วยให้ท่านสามารถช่วยเหลือคนที่ท่านรักได้ :

คนที่ฉันรักไม่ทราบว่าตนเองสูญเสียการได้ยิน

ตัวอย่างเช่น : คนที่ท่านรักอาจเข้าใจว่าการไม่สามารถเข้าใจความหมายของคำพูดในโทรทัศน์หรือการต้องเปิดเสียงที่ดังเป็นเรื่องปกติ

  • เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการสูญเสียการได้ยินเพื่อหาคำแนะนำว่าจะช่วยคนที่ท่านรักได้อย่างไร
  • แสดงความกังวลต่อคนที่ท่านรัก แสดงให้ท่านรู้ว่าเรารักท่านมากและให้การช่วยเหลือท่านไปพร้อมกัน
  • ถามคนที่ท่านรักเกี่ยวกับบทสนทนาที่คนที่ท่านรักได้ยินไม่ชัดเจนและลองถามสมาชิกในครอบครัวท่านอื่นๆที่อยู่ในเหตุการณ์เดียวกันว่าสามารถเข้าใจบทสนทนาเดียวกันนั้นหรือไม่
  • พาคนที่ท่านรักมารับการตรวจการได้ยินกับนักแก้ไขการได้ยิน
  • คนที่ท่านรักไม่พร้อมที่จะยอมรับว่าตนเองสูญเสียการได้ยิน

    ตัวอย่างเช่น :คนที่ท่านรักตระหนักดีถึงอาการสูญเสียการได้ยิน แต่ไม่เต็มใจที่จะยอมรับและพูดคุยเกี่ยวกับการสูญเสียการได้ยินของเขาหรือเธอ

  • หลายๆท่านที่มีภาวะสูญเสียการได้ยินจะปฏิเสธก่อนในขั้นต้น นี่เป็นกลไกปกติของการเผชิญปัญหา ต้องให้เวลาเขาเหล่านั้นเพื่อไตร่ตรองและเอาชนะความกลัว ความสงสัย หรือความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการสูญเสียการได้ยิน
  • คนที่ท่านรักอาจสามารถได้ยินดีในบางสถานการณ์และได้ยินลำบากในสถานการณ์อื่นๆ ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องแยกความแตกต่างระหว่างการได้ยินและการเข้าใจบทสนทนาอย่างชัดเจน พาคนที่ท่านรักมารับการตรว
  • วินิจฉัยจากผู้เชี่ยวชาญ ที่ศุนย์ฯของเรามีนักตรวจการได้ยินที่มีประสบการณ์ สามารถให้คำแนะนำเพื่อให้ผู้ที่สูญเสียการได้ยินยอมรับและพร้อมที่จะรับการช่วยเหลือ แต่สิ่งสำคัญคือท่านควรให้เวลาคนที่ท่านรักและใช้เวลาอย่างน้อย 1-3 ครั้ง กับนักแก้ไขการได้ยิน
  • คนที่ท่านรักทราบว่าเขาหรือเธอเป็นผู้สูญเสียการได้ยิน แต่ไม่ต้องการหาวิธีแก้ปัญหาหรือรับการฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยิน

    ตัวอย่างเช่น : คนที่ท่านรักปฏิเสธที่จะใส่เครื่องช่วยฟัง แม้กระทั่งได้รับการตรวจวินิจฉัยและแนะนำให้ใส่เครื่องช่วยฟัง

  • พาคนที่ท่านรักมาดูรูปแบบของเครื่องช่วยฟังแบบต่างๆ สำหรับพวกเขาอาจรู้สึกว่าเครื่องช่วยฟังจะทำให้เป็นที่สังเกตและเชื่อมโยงกับความอ่อนแอหรือความชรา ในปัจจุบันเครื่องช่วยฟังมีขนาดเล็กลงมากจนไม่เป็นที่สังเกต
  • งบประมาณอาจเป็นหนึ่งในเหตุผล ปรึกษานักตรวจการได้ยินเกี่ยวกับเงื่อนไขการชำระเงินและโปรโมชั่นต่างๆ
  • แสดงข้อดีและข้อเสียของการไม่รับการรักษา ผู้ที่สูญเสียการได้ยินจะต้องเผชิญกับความเสี่ยงสูงขึ้นต่อ
  • Higher risk of falling

  •        o Five times increased risk of getting dementia


           o Risk of social anxiety and depression


           o Decline in memory for speech

    จำไว้เสมอว่าการจะหาหนทางในการช่วยเหลือคนที่ท่านรัก ต้องทำให้คนที่ท่านรักมั่นใจว่าพวกเขามีความสำคัญและท่านมีความกังวลต่อคนที่ท่านรัก และไม่ใช่เกิดจากความรู้สึกผิดหวังรำคาญ