ประสาทหูเทียม

  1. ประสาทหูเทียม
    1. ประสาทหูเทียมคืออะไร
    2. ประสาทหูเทียมเหมาะสำหรับผู้ที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรงถึงรุนแรงมาก ซึ่งไม่สามารถใช้เครื่องช่วยฟังได้แล้ว ประสาทหูเทียมจะทำการกระตุ้นสัญญาณเสียงโดยตรงเข้าสู่เส้นประสาทเสียง ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งผู้ที่สูญเสียการได้ยินตั้งแต่กำเนิดหรือเคยมีการได้ยินมาก่อน และใช้ได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ประสาทหูเทียมประกอบด้วยสองส่วน คือ อุปกรณ์ภายนอกและภายใน

         A. อุปกรณ์ภายใน

            a. อุปกรณ์ผ่าตัดฝังภายใน

      อุปกรณ์ผ่าตัดฝังภายในประกอบไปด้วยโครงสร้างที่บรรจุวงจรอิเล็คโทรนิกส์และสายอิเล็คโทรดเอาไว้ รวมถึงมีตัวรับสัญญาณจากอุปกรณ์ภายนอกและแม่เหล็กเพื่อยึดติดกับอุปกรณ์ภายนอก

         B. อุปกรณ์ภายนอก

            a. เครื่องประมวลเสียง

      เครื่องประมวลเสียงจะแขวนอยู่ที่หลังใบหู ประกอบไปด้วยส่วนประมวลผล กล่องแบตเตอรี่และคอยล์แม่เหล็กที่ทำหน้าที่ส่งสัญญาณเสียงไปยังอุปกรณ์ภายใน

    3. ประสาทหูเทียมทำงานอย่างไร
    4. ประสาทหูเทียมจะทำการแปลงเสียงที่เกิดขึ้นเป็นสัญญาณเสียงแบบไฟฟ้า และส่งต่อเพื่อไปกระตุ้นเส้นประสาทการได้ยินและสมองจะทำการถอดรหัสสัญญาณเป็นเสียงในลำดับถัดไป ซึ่งกระบวนการทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นเร็วมาก

      • เครื่องประมวลเสียงรับเสียงจากภายนอกผ่านไมโครโฟน
      • เครื่องประมวลเสียงทำการถอดรหัสเสียงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า
      • สัญญาณไฟฟ้าจะถูกส่งไปยังอุปกรณ์ผ่าตัดฝังภายในผ่านคอยล์แม่เหล็ก
      • อุปกรณ์ภายในจะส่งสัญญาณไฟฟ้าไปที่สายอิเล็คโทรดที่อยู่ในก้นหอย
      • เส้นประสาทเสียงจะถูกกระตุ้นด้วยสัญญาณไฟฟ้าและส่งต่อไปยังสมองเพื่อถอดรหัสสัญญาณและแปลงเป็นเสียง

    5. ประโยชน์ของประสาทหูเทียม
    6. ประสาทหูเทียมสามารถมอบเสียงที่มีความครอบคลุมได้ทุกประเภทของเสียง ทั้งเสียงพูด เสียงสิ่งแวดล้อมและเสียงดนตรีหรือเพลง มีรายงานว่าปัจจุบันประสาทหูเทียมสามารถพัฒนาการสื่อสารให้กับผู้ใช้ได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งสามารถวัดได้จากความสามารถในการฟังและเข้าใจคำพูดของผู้ใช้โดยปราศจากการอ่านริมฝีปากช่วย และความสามารถในการฟังคำศัพท์ที่มีความสำคัญอย่างมากในการสื่อสาร นอกจากสิ่งที่รายงานมาแล้ว การได้รับรู้ถึงเสียงสิ่งแวดล้อมรอบตัว เช่น เสียงกริ๊งประตู เสียงนาฬิกาปลุก ก็สามารถสร้างความแตกต่างในการใช้ชีวิตของผู้ที่มีอาการสูญเสียการได้ยินได้แล้ว

    7. ใครสามารถได้รับประโยชน์จากการใช้ประสาทหูเทียมได้บ้าง? แนวทางในการพิจารณาว่าการที่ประสาทหูเทียมจะให้ประโยชน์สูงสุดได้นั้นควรทำอย่างไร
      1. การผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมควรจะทำตอนท่ายุยังน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เนื่องจากอายุของการได้ยินนั้นมีความสำคัญต่อการพัฒนาภาษา จากผลวิจัยพบว่าเด็กที่ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมตั้งแต่อายุยังน้อยนั้น ได้ผลดีกว่าเด็กที่อายุมากแล้ว
      2. ในเด็กโตและผู้ใหญ่ที่เคยมีพัฒนากาทางภาษามาก่อนจะมีพัฒนาในการเรียนรู้ทางภาษาจากประสาทหูเทียมได้ดีมาก
      3. หากมีการสูญเสียการได้ยินระดับรุนแรงมาเป็นเวลานาน จะส่งผลให้ประโยชน์ที่ได้รับจากประสาทหูเทียมนั้นมีขีดจำกัด

    8. ผู้ที่เหมาะสมสำหรับประสาทหูเทียม
      1. เด็กที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรงมากทั้งสองข้าง
      2. ผู้ใหญ่ที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรงและรุนแรงมากทั้งสองข้าง
      3. ประสาทหูเทียมสามารถผ่าตัดฝังได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือนขึ้นไป
      4. ใช้เครื่องช่วยฟังแล้วไม่ได้ผล
      5. ไม่มีข้อจำกัดทางสุขภาพในการเข้ารับกรผ่าตัด
      6. มีแรงบันดาลใจและความคาดหวังในการเข้ากระบวนการของประสาทหูเทียม
      7. สามารถเข้าร่วมการฟื้นฟูทางภาษาได้อย่างต่อเนื่อง

  2. ประสาทหูเทียมผสมเครื่องช่วยฟัง (EAS)
    1. ประสาทหูเทียมผสมเครื่องช่วยฟังคืออะไร?
    2. ประสาทหูเทียมผสมเครื่องช่วยฟังคือ อุปกรณ์การได้ยินแบบผ่าตัดฝังที่ออกแบบมาสำหรับผู้ที่สูญเสียการได้ยินแค่บางส่วน ผู้สูญเสียการได้ยินกลุ่มนี้ยังมีการได้ยินที่ดีหลงเหลืออยู่ในช่วงความถี่ต่ำแต่มีการสูญเสียกาได้ยินขั้นรุนแรงที่ช่วงความถี่สูง ซึ่งคนกลุ่มนี้ไม่สามารถใช้เครื่องช่วยฟังได้เนื่องจากจะส่งผลให้เกิดการฟังแล้วไม่เข้าใจในคำพูด มีปัญหาในการฟังเสียงที่ยากๆ เช่น เสียงเพลง และประสาทหูเทียมแบบปกติก็ไม่เหาะสมกับผู้ใช้กลุ่มนี้เพราะว่ายังมีการได้ยินทางธรรมชาติหลงเหลืออยู่ที่เสียงความถี่ต่ำ ประสาทหูเทียมผสมเครื่องช่วยฟังนั้นจะให้การกระตุ้นเสียงทั้งแบบคลื่นเสียงทางธรรมชาติและแบบสัญญาณไฟฟ้าจากประสาทหูเทียมในเวลาเดียวกัน และสามารถกระตุ้นได้ครอบคลุมทุกช่วงความถี่อีกด้วย

      ประสาทหูเทียมผสมเครื่องช่วยฟังประกอบด้วยสองส่วน คือ อุปกรณ์ภายนอกและภายใน

         A. อุปกรณ์ภายใน

            a. อุปกรณ์ผ่าตัดฝังภายใน

      อุปกรณ์ผ่าตัดฝังภายในประกอบไปด้วยโครงสร้างที่บรรจุวงจรอิเล็คโทรนิกส์และสายอิเล็คโทรดเอาไว้ รวมถึงมีตัวรับสัญญาณจากอุปกรณ์ภายนอกและแม่เหล็กเพื่อยึดติดกับอุปกรณ์ภายนอก

         B. อุปกรณ์ภายนอก

            a. เครื่องประมวลเสียง

      เครื่องประมวลเสียงจะประกอบไปด้วยส่วนที่ทำหน้าที่ขยายคลื่นเสียงทางธรรมชาติสำหรับการกระตุ้นในช่วงความถี่ต่ำ ซึ่งจะแขวนอยู่ที่หลังใบหู สำหรับในช่วงความถี่สูงนั้น ในส่วนของประสาทหูเทียมจะรับหน้าที่ในการกระตุ้น ซึ่งทั้งสองระบบสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างชาญฉลาด ส่งผลให้ผู้ใช้มีการรับฟังเสียงได้อย่างดีเยี่ยม ซึ่งอุปกรณ์นี้ถือเป็นทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่สูญเสียการได้ยินรุนแรงในช่วงความถี่สูง

    3. ประสาทหูเทียมผสมเครื่องช่วยฟังทำงานอย่างไร?
    4. ประสาทหูเทียมผสมเครื่องช่วยฟังจะผสมสองเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน ซึ่งแต่ล่ะเทคโนโลยีนั้นจะทำหน้าที่ในการกระตุ้นช่วงความถี่ที่แตกต่างกัน ในส่วนของประสาทหูเทียมจะทำการแปลงเสียงที่เกิดขึ้นเป็นสัญญาณเสียงแบบไฟฟ้า และส่งต่อเพื่อไปกระตุ้นเส้นประสาทการได้ยินและสมองจะทำการถอดรหัสสัญญาณเป็นเสียงในลำดับถัดไป

      • เครื่องประมวลเสียงรับเสียงความถี่สูงจากภายนอกผ่านไมโครโฟนเครื่องประมวลเสียงทำการถอดรหัสเสียงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า
      • สัญญาณไฟฟ้าจะถูกส่งไปยังอุปกรณ์ผ่าตัดฝังภายในผ่านคอยล์แม่เหล็ก
      • อุปกรณ์ภายในจะส่งสัญญาณไฟฟ้าไปที่สายอิเล็คโทรดที่อยู่ในก้นหอย
      • เส้นประสาทเสียงจะถูกกระตุ้นด้วยสัญญาณไฟฟ้าและส่งต่อไปยังสมองเพื่อถอดรหัสสัญญาณและแปลงเป็นเสียง
      • ในส่วนของเสียงธรรมชาติจะได้รับการขยายให้ถึงระดับที่ผู้ใช้ยังสามารถได้ยิน ซึ่งในอุปกรณ์ประสาทหูเทียมผสมเครื่องช่วยฟังหมายถึงเสียงความถี่ต่ำเท่านั้น
      • เสียงความถี่ต่ำถูกรับเข้ามาผ่านไมโครโฟนและนำไปประมวลผลแยกออกจากเสียงความถี่สูง
      • เสียงความถี่ต่ำที่ได้รับการขยายแล้วจะถูกนำส่งต่อไปยังช่องหูผ่านพิมพ์หู
      • เสียงความถี่ต่ำถูกกระตุ้นในก้นหอยในส่วนที่ยังใช้งานได้
      • เส้นประสาทเสียงส่งสัญญาณเสียงไปประมวลผลที่สมอง

  3. หูชั้นกลางเทียม
    1. หูชั้นกลางเทียมคืออะไร?
    2. หูชั้นกลางเทียมเหมาะสำหรับผู้ที่สูญเสียการได้ยินชนิดประสาทหูเสื่อม, การสูญเสียการได้ยินชนิดการนำเสียงบกพร่อง และ การสูญเสียการได้ยินชนิดผสม อุปกรณ์ผ่าตัดฝังภายในนี้เป็นทางเลือกในการฝังอุปกรณ์แทนการใช้เครื่องช่วยฟัง ซึ่งแตกต่างกับเครื่องช่วยฟังที่จะสัญญาณเสียงจะถูกทำให้ดังขึ้นเพื่อให้ได้ยิน ส่วนหูชั้นกลางเทียมสัญญาณเสียงจะถูกแปลงให้อยู่ในรูปของแรงสั่นสะเทือนเชิงกล โดยหูชั้นกลางเทียมจะส่งแรงสั่นสะเทือนไปยังโครงสร้างหูชั้นกลางโดยตรง ทำให้โครงมีการสั่นสะเทือนในลักษณะเดียวกับการส่งสัญญาณเสียงแบบธรรมชาติ (การสั่นสะเทือนแบบอะคูสติก) ที่ไหลผ่านช่องหูและผ่านเยื่อแก้วหู ส่งให้โครงสร้างหูชั้นกลางเกิดการสั่นสะเทือน การสั่นสะเทือนแบบอะคูสติกเหล่านี้เป็นการขยายเสียง และสามารถปรับได้เพื่อให้เหมาะสมกับการสูญเสียการได้ยินที่แตกต่างกันได้ หูชั้นกลางเทียมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในขณะนี้คือ Vibrant Soundbridge เป็นระบบการได้ยินแบบฝังในกระดูก ซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วน คือ อุปกรณ์ภายนอกและภายใน

         A. อุปกรณ์ภายใน

            a. อุปกรณ์ผ่าตัดฝังภายใน

      อุปกรณ์ผ่าตัดฝังภายในของ Vibrant Soundbridge เรียกว่า Vibrating Ossicular Prosthesis (VORP) ประกอบไปด้วยขดลวดภายใน, แม่เหล็ก, สายนำส่งสัญญาณ และอุปกรณ์ส่งสัญญาณสั่นสะเทือน (FMT)

         B. อุปกรณ์ภายนอก

            a. เครื่องประมวลเสียง

      อุปกรณ์ภายนอกเรียกว่า เครื่องประมวลเสียง (Audio Processor) ซึ่งยึดติดกับศีรษะใต้ผมด้วยแม่เหล็ก ตัวเครื่องประกอบด้วย ไมโครโฟน, แบตเตอรี่ และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่รับสัญญาณเสียงในสิ่งแวดล้อมแล้วทำการแปลงสัญญาณเพื่อส่งไปตัวรับสัญญาณที่ฝังอยู่ภายใน

      สัญญาณเสียงจากเครื่องประมวลเสียงจะถูกส่งผ่านผิวหนังไปยังขดลวดภายใน ซึ่งจะถ่ายทอดสัญญาณนี้ไปที่อุปกรณ์ส่งสัญญาณสั่นสะเทือน (FMT) จากนั้น FMT จะส่งแรงสั่นสะเทือนที่เหมาะสมกับการได้ยินของผู้ป่วยแต่ละราย ทำให้โครงสร้างของหูเกิดการสั่นสะเทือน

       

      การผ่าตัดฝังหูชั้นกลางเทียม

      การผ่าตัดฝังหูชั้นกลางเทียมเหมาะสำหรับผู้สูญเสียการได้ยินที่ใช้เครื่องช่วยฟังไม่ได้ผล และบ่อยครั้งก็ใช้สำหรับผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดรักษาหูชั้นกลางมาแล้วแต่ไม่ได้ผลเช่นกัน ในการการผ่าตัดฝังหูชั้นกลางเทียมนั้น อุปกรณ์ส่งสัญญาณสั่นสะเทือนสามารถยึดติดกับอวัยวะของหูชั้นกลางได้หลายตำแหน่ง ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและโครงสร้างของหูชั้นกลางของแต่ล่ะคน

      การยึดติดอุปกรณ์ส่งสัญญาณสั่นสะเทือนไว้ที่กระทั่งนั้น อุปกรณ์ส่งสัญญาณสั่นสะเทือนจะทำการเปลี่ยนสัญญาณที่ได้รับมาเป็นแรงสั่นสะเทือน เพื่อที่จะกระตุ้นให้กระดูกสามชิ้นในหูชั้นกลางเกิดการเคลื่อนไหวได้เหมือนกับการได้ยินแบบปกติ สิ่งแรงสั่นสะเทือนเหล่านี้จะถูกส่งไปยังกระบวนการต่อไป ในที่สุดสมองก็จะแปลงกระบวนเหล่านี้เป็นเสียงที่ได้ยิน

    3. หูชั้นกลางเทียมทำงานอย่างไร?
      • สัญญาณจากเครื่องประมวลผลเสียงจะถูกส่งผ่านผิวหนังไปยังขดลวดภายในซึ่งจะถ่ายทอดสัญญาณนี้ผ่านสายนำส่งสัญญาณไปยังอุปกรณ์ส่งสัญญาณสั่นสะเทือน (FMT)
      • FMT ที่ถูกติดกับกระดูกทั่ง ซึ่งเป็น 1 ใน 3 ของกระดูกขนาดเล็กของหูชั้นกลาง โดย FMT จะแปลงสัญญาณเสียงเป็นการสั่นสะเทือน ที่ส่งผลให้กระดูกหูชั้นกลางขยับ คล้ายกับเสียงธรรมชาติที่ผ่านช่องหู แล้วทำให้เกิดการสั่นสะเทือน เพื่อส่งไปยังสมองเผื่อแปลงเป็นสัญญาณเสียง

  4. อุปกรณ์กระตุ้นเสียงผ่านทางกระดูก
    1. อุปกรณ์กระตุ้นเสียงผ่านทางกระดูกคืออะไร?
    2. อุปกรณ์กระตุ้นเสียงผ่านทางกระดูกเหมาะสำหรับผู้ที่สูญเสียการได้ยินจากการนำเสียงเสื่อม, สูญเสียการได้ยินแบบผสม และสูญเสียการได้ยินข้างเดียว เนื่องจากเสียงสามารถเดินทางเข้าไปสู่หูชั้นในได้โดยตรงผ่านทางกระดูก ทำให้สามารถแก้ปัญหาด้านการนำเสียงของหูชั้นนอกและหูชั้นกลางได้

      อุปกรณ์กระตุ้นเสียงผ่านทางกระดูกเป็นอุปกรณ์ชนิดแรกของโลกที่กระตุ้นการได้ยินผ่านทางกระดูกโดยตัวสร้างแรงสั่นสะเทือนนั้นถูกผ่าตัดฝังอยู่ที่กระดูกโดยตรงภายใต้ผิวหนังและรับสัญญาณการกระตุ้นจากเครื่องประมวลเสียงที่อยู่ภายนอก

         A. อุปกรณ์ภายใน

            a. อุปกรณ์ผ่าตัดฝัง

      อุปกรณ์ผ่าตัดฝังจะถูกยึดอยู่กับกระดูกใต้ผิวหนังบริเวณศีรษะช่วงหลังใบหู ซึ่งจะมีแม่เหล็กที่ทำหน้าที่ในการยึดติดกับเครื่องประมวลเสียงที่อยู่ภายนอก

         B. อุปกรณ์ภายนอก

            a. เครื่องประมวลเสียง

      เครื่องประมวลเสียงจะถูกยึดติดไว้บริเวณศีรษะด้วยแรงแม่เหล็ก ซึ่งสามารถซ่อนไว้ใต้เส้นผมได้ จะประกอบไปด้วยแบตเตอรี่ ไมโครโฟนและวงจรอิเล็คโทรนิกส์สำหรับการถอดหรัสสัญญาณเสียง

    3. อุปกรณ์กระตุ้นเสียงผ่านทางกระดูกทำงานอย่างไร?
    4. อุปกรณ์กระตุ้นเสียงผ่านทางกระดูกนั้นเหมาะสำหรับผู้ที่เสียงไม่สามารถเคลื่อนที่ผ่านไปยังหูชั้นในได้ตามปกติ การนำเสียงผ่านกระดูกนั้น กะโหลกศีรษะจะถูกกระตุ้นให้ส่งผ่านเสียงโดยการสั่นสะเทือนไปยังหูชั้นในโดยตรง ซึ่งเสียงที่ได้รับจะเป็นเสียงแบบธรรมชาติ

      • เครื่องประมวลเสียงจะถูกยึดติดอยู่กับอุปกรณ์ผ่าตัดฝังด้วยแรงแม่เหล็ก ทำหน้าที่รับเสียงผ่านไมโครโฟนและประมวลผลเพื่อส่งสัญญาณไปยังอุปกรณ์ภายใน
      • อุปกรณ์ผ่าตัดฝังจะถูกยึดติดกับกะโหลกศีรษะ เมื่อได้รับสัญญาณจากเครื่องประมวลเสียง ก็จะทำการเปลี่ยนแปลงให้เป็นพลังงานในการสร้างแรงสั่นสะเทือนรอบๆกะโหลกศีรษะ
      • กระดูกของกระโหลกศีรษะจะส่งแรงสั่นสะเทือนไปยังหูชั้นในเพื่อแปลงแรงสั่นสะเทือนให้เป็นสัญญาณเสียงและกระตุ้นไปยังเส้นประสาทเสียง ซึ่งเป็นกระบวนการการได้ยินทางธรรมชาติอยู่แล้ว