fbpx

วิธีดูแลเครื่องช่วยฟัง

วิธีดูแลเครื่องช่วยฟัง : สำหรับผู้ที่มีปัญหาทางการได้ยิน คงปฏิเสธไม่ได้ว่า เครื่องช่วยฟัง ไม่ได้เป็นเพียงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น แต่เปรียบเสมือน อวัยวะสำคัญ ที่ช่วยให้เราสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติ การที่ผู้สวมใส่ต้องใช้งานเครื่องช่วยฟังทุกวัน แน่นอนว่าการดูแลรักษาที่ดีคือปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เครื่องช่วยฟังอยู่ในสภาพที่ดี และช่วยให้เครื่องมี อายุการใช้งานที่ยาวนาน

ปัญหาการใช้งานเครื่องช่วยฟังส่วนใหญ่ที่ทำให้เครื่องช่วยฟังมีอายุการใช้งานที่สั้นกว่าปกติ มักเกิดจากความชื้น การตกหล่น การตกกระแทก รวมไปถึงการดูแลรักษาที่ผิดวิธี ไม่ดูแลเอาใจใส่ อาทิ เช่น ไม่นำแบตเตอรี่ออกจากเครื่องช่วยฟัง เมื่อไม่ได้ใช้เครื่องเป็นระยะเวลานาน จนทำให้ขั้วสัมผัสภายในเครื่องเป็นสนิม และส่งผลให้เครื่องช่วยฟังไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ดังนั้น 7 วิธี ต่อไปนี้คือวิธีที่จะช่วยดูแลรักษา และยืดอายุการใช้งานของเครื่องช่วยฟังของเราให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยาวนานมากยิ่งขึ้น

1. ทำความสะอาดช่องหู

ก่อนการใช้งานเครื่องช่วยฟังทุกครั้ง เราควรจะตรวจดูความสะอาดของช่องหูเราก่อนใช้งานเสมอ และเช็ดทำความสะอาดบริเวณรอบ ๆ หูด้านนอกให้สะอาด ด้วยผ้าชุบน้ำอุ่น หรือทิชชู่ทำความสะอาด และไม่ควรใช้สำลีปั่นหูหรือแคะภายในช่องหู เพราะอาจดันขี้หูเข้าไปให้ลึก และเกิดการอุดตันได้

2. ห้ามเปียกน้ำ

สำหรับเครื่องช่วยฟังบางรุ่นที่ไม่มีคุณสมบัติกันน้ำ เราควรระมัดระวังเรื่องความเปียกชื้นมากกว่าเครื่องช่วยฟังที่สามารถกันน้ำได้เป็นพิเศษ ควรหลีกเลี่ยง การใส่อาบน้ำ ล้างหน้า หรือว่ายน้ำ และควรเก็บรักษาเครื่องให้มีความเสี่ยงต่อการโดนน้ำน้อยที่สุด

และเมื่อเครื่องช่วยฟังเปียกน้ำ ให้รีบซับน้ำออกด้วยผ้าสะอาด ปิดเครื่อง แล้วนำแบตเตอรี่ออกจากเครื่องช่วยฟัง หากยังไม่มั่นใจ ให้นำเครื่องช่วยฟังส่งเข้าศูนย์การได้ยินที่น่าเชื่อถือเพื่อตรวจเช็กสภาพเครื่อง

3. ห้ามใช้แอลกอฮอล์

การทำความสะอาดเครื่องช่วยฟัง เราควรใช้เพียงแค่ผ้าแห้งที่สะอาด หรือใช้ชุดทำความสะอาดเครื่องช่วยฟังโดยเฉพาะ ไม่ควรใช้แอลกอฮอล์ หรือสารเคมีชนิดอื่น ๆ เช็ดทำความสะอาดด้วยตัวเอง เพราะอาจเป็นเหตุทำให้ชิ้นส่วนอุปกรณ์ภายในเครื่องช่วยฟังเกิดความเสียหายได้

4. นำแบตเตอรี่ออกทุกครั้งหลังใช้งาน

หลังจากใช้งานเครื่องช่วยฟังมาตลอดทั้งวันแล้ว เราควรเช็ดทำความสะอาดคราบเหงื่อไคลที่อาจติดมากับเครื่องช่วยฟัง พร้อมกับดูดความชื้นทุกครั้ง และที่สำคัญต้องไม่ลืมการถอดแบตเตอรี่ออกหลังใช้งานเครื่องช่วยฟัง เพื่อป้องกันการผุกร่อนและการเกิดสนิมจากของเหลวที่อาจสัมผัสกับเครื่องช่วยฟังได้

5. เลือกใช้แบตเตอรี่ของเครื่องช่วยฟังโดยเฉพาะ

การเลือกซื้อแบตเตอรี่ทั่วไปตามท้องตลาดมาใช้ อาจส่งผลให้ระยะอายุการใช้เครื่องช่วยฟังลดลง เนื่องจากระบบกำลังในการจ่ายกระแสไฟฟ้าของแบตเตอรี่แค่ละชนิดมีความแตกต่างกัน ดังนั้น เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับเครื่องช่วยฟังในอนาคต ควรเลือกใช้แบตเตอรี่ที่ได้คุณภาพ หรือซื้อจากศูนย์จำหน่ายที่น่าเชื่ออถือเท่านั้น

6. เก็บเครื่องช่วยฟังไว้ในอุณหภูมิปกติ

การเก็บรักษาเครื่องช่วยฟังควรเก็บไว้ในอุณหภูมิปกติ ควรลีกเลี่ยงบริเวณที่มีความชื้นสูง เช่น ห้องน้ำ และหลีกเลี่ยงการวางไว้ใกล้บริเวณที่มีความร้อนสูง เช่น เตาไฟ และห้ามนำไดร์เป่าผมความร้อนสูงมาใช้เพื่อไล่ความชื้นโดยเด็กขาด เพราะจะทำให้เครื่องช่วยฟังเสียหายได้

7. ตรวจเช็กสภาพเครื่องช่วยฟังที่ศูนย์อย่างสม่ำเสมอ

การตรวจเช็กสภาพเครื่องช่วยฟังที่ศูนย์การได้ยิน ควรทำเป็นประจำทุก ๆ 4 เดือน แต่ไม่ควรเกิน 6 เดือน เพื่อให้ช่างหรือวิศวกรตรวจเช็กว่าเครื่องช่วยฟังสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพหรือไม่ ทั้งนี้ ศูนย์การได้ยินที่ได้มาตรฐานจะมีบริการตรวจเช็กการได้ยิน เพื่อปรับตั้งค่าเครื่องช่วยฟังให้มีความแม่นยำ เหมาะสมกับระดับการได้ยินของผู้ใช้

การเลือกเครื่องช่วยฟังที่ได้มาตรฐานเป็นสิ่งสำคัญก็จริง แต่การดูแลรักษาเครื่องช่วยฟังให้ดี ก็เป็นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน เพราะจะทำให้เครื่องช่วยฟังของเราทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และอายุการใช้งานของตัวเครื่องก็จะอยู่กับเรายาวนานมากยิ่งขึ้น

หากท่านใดสนใจเครื่องช่วยฟังที่ดี และได้มาตรฐานสามารถเลือกชมสินค้าและติดต่อหาเราได้ที่

Line Official : @hearlifeth

Facebook: https://www.m.me/hearlifethai

หรือโทร 02-693-9411

และสามารถอ่านบทความอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ บทความ

image by Freepik

 

MAKE AN APPOINTMENT